วันพุธ ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564, 14.03 น.
นครราชสีมา วันนี้( 30 มิถุนายน 2564) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3 ได้จัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปี 2564 ผ่านระบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ จากทำเนียบรัฐบาล โดยมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ร่วมงานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณฯ โดย ป.ป.ส.ภาค 3 มีนายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้แทนในการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณฯ และ นายณรรงค์ วรหาญ ผอ.ป.ป.ส.ภาค 3 , พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รอง ผบช.ภ.3 ที่ ห้องประชุมกฤษณะ ผลอนันต์ ชั้น 3 สำนักงาน ปปส.ภาค 3 ต.หนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ทั้งนี้ในปีนี้ สำนักงาน ปปส..ภาค 3 ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ ด้านการป้องกันยาเสพติด ได้แก่ นายพิจิตร บุญทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ , ด้านการปราบปรามยาเสพติด ได้แก่ ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ พ.ต.อ.ธรรมนูญ ฉิมวงศ์ รอง ผบก.ภ.สุรินทร์ รับมอบ , ด้านการบำบัด พื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ นายดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ , ด้านการส่งเสริมการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่ นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และ ด้านการพัฒนานโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้แก่ พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 3 นอกจากนี้ ยังได้มอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสำหรับผู้ปฏิบัติงานยาเสพติดที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 4 นาย ดังนี้ ร้อยตำรวจเอก พุทธิชัย ใจสูงเนิน สถานีตำรวจภูธรเสิงสาง , ร้อยตำรวจเอก อลงกรณ์ ประจงเศรษฐ์ สถานีตำรวจภูธรกระสังข์ , ร้อยตำรวจตรี ส่ง ตวยกระโทกตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา และ ดาบตำรวจ วรรณศักดิ์ ก้านจักร สถานีตำรวจภูธรน้ำยืน จ.อุบลฯ
นายกอบชัย บุญอรณะ ผวจ.นครราชสีมา กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดจะหมดไปหรือทุเลาเบาบางลง ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเสียสละ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพราะปัญหายาเสพติดไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นปัญหาที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในครอบครัว ชุมชุน สังคม และประเทศชาติของเรา ให้พ้นภัยจากปัญหายาเสพติด เพื่อลูกหลานของเราปลอดภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน
ด้าน พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รอง ผบช.ภ.3 กล่าว่า ตำรวจภูธร ภาค 3ได้ขับเคลื่อนโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยเลือกชุมชนที่มีปัญหาการแพร่ระบาดหนักที่สุด ให้ตำรวจเป็นแกนนำในการบูรณาการทุกภาคส่วนของตำรวจภูธรภาค 3 จำนวน 236 สภ. 236 หมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการติดตามงานในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนให้ตรงจุด ตรงเป้าหมาย โดยได้เข้าสำรวจค้นหาผู้เสพ อย่างจริงจัง อย่างละเอียด โดย X-ray 100% ทำให้ได้ผู้ติดยาเสพติด สมัครบำบัดกับโครงการ จำนวน 3,890 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.36 จากจำนวนประชากรทั้งหมด(165,065คน 41,200ครัวเรือน)และนำผู้ติดยาเสพติด มาบำบัดรักษา โดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัด (CBTx) เช่น วินัยพละบำบัด ,จิตอาสาบำบัด , จิตเวชบำบัด ,ศาสนบำบัด ,อาชีวบำบัด และ สันทนาการบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดติด ไม่กลับมาใช้ยาเสพติดอีก ให้โอกาสทางการศึกษา การฝึกอาชีพ การจัดหางาน หัวใจหลักของโครงการ นอกจากการค้นหา การรักษา การคืนสู่สังคมแล้ว ยังมีภารกิจสำคัญอีกคือ”การส่งต่อความยั่งยืน” ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันภัยยาเสพติด มีมาตรการรักษาสภาพหมู่บ้านชุมชน มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีการประชุมภาคีเครือข่ายในการดูแลชุมชนต่อเนื่อง มีการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดกับภาครัฐ เพื่อป้องกันการเกิดผู้เสี่ยงรายใหม่ “เพื่อไม่ให้มีผู้เสพ ไม่ให้เกิดการขาย”ในพื้นที่ตลอดไป
ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมาเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาหารือกันและเข้าสำรวจในทุกพื้นที่ ทุกตำบล ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน คนที่ติดยาเสพติดต้องได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษา ส่วนของนายทุน ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดตามกฎหมาย รวมถึงการยึดทรัพย์ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มอบนโยบายการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของการใช้ยาเสพติดในชุมชนที่แพร่ระบาดหนัก ตามโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด แบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ในพื้นที่ บช.น., ภ.1-9 สถานีละ 1 หมู่บ้าน/ชุมชน รวม 1,483 หมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ค้นหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา โดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัด (CBTx) โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางที่สามารถดูแลผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน
พล.ต.ต.คีรีศักดิ์ ตันตินวะชัย รอง ผบช.ภ.3 (หน.ปส.ภ.3)ได้ขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่วันที่ 27เม.ย.2564 โดยเลือกชุมชนที่มีปัญหาการแพร่ระบาดหนักที่สุด ให้ตำรวจเป็นแกนนำในการบูรณาการทุกภาคส่วนของตำรวจภูธรภาค 3 จำนวน 236 สภ. 236 หมู่บ้าน/ชุมชน ดำเนินการติดตามงานในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนให้ตรงจุด ตรงเป้าหมาย ของนายกรัฐมนตรี โดย ได้เข้าสำรวจค้นหาผู้เสพ อย่างจริงจัง อย่างละเอียด โดย X-ray 100% ทำให้ได้ผู้ติดยาเสพติด สมัครบำบัดกับโครงการ จำนวน 3,890 คน คิดเป็น ร้อยละ 2.36 จากจำนวนประชากรทั้งหมด(165,065คน 41,200ครัวเรือน)และนำผู้ติดยาเสพติด มาบำบัดรักษา โดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัด (CBTx) เช่น วินัยพละบำบัด ,จิตอาสาบำบัด , จิตเวชบำบัด ,ศาสนบำบัด ,อาชีวบำบัด และ สันทนาการบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดติด ไม่กลับมาใช้ยาเสพติดอีก ให้โอกาสทางการศึกษา การฝึกอาชีพ การจัดหางาน เนื่องจากโครงการนี้ จะมีการประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน โดยการสุ่มตรวจจากคณาจารย์ส่วนกลาง เพื่อสรุปข้อดีข้อเสียปัญหาอุปสรรค และความสำเร็จหรือล้มเหลว
“ในวันยาเสพติดโลกทำให้เรานึกถึงกระแสรับสั่งของามเด็จย่า ที่พระองค์ตรัสไว้ว่าประชาชนที่ติดยาเสพติดเขาเป็นคน เราต้องเข้าไปช่วยเหลือเขา เขาไปพูดคุยกับเขานำเขามาคืนสู่ชีวิตใหม่ได้ก็ถือว่า เราได้ช่วยสังคม ช่วยประเทศชาติได้อย่างยั่งยืนจริงๆ ผมเชื่อว่าอันนี้มาจากแนวพระราชดำริฯของสมเด็จย่าฯด้วย ซึ่งอันนี้ผมว่าเป็นโมเดลของโครงการชุมชนยั่งยืน ซึ่งเมื่อก่อนเราก็ทำคล้ายๆกับชุมชนเข้มแข็งมาตลอด แต่ว่าทำในลักษณะตามวงรอบและงบประมาณที่ได้รับ ฉะนั้นโครงการนี้เราจะต้องรวมพลังทุกภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะผู้นำชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อม ซึ่งต่อไปบทบาทหลักน่าจะอยู่ที่ฝ่ายปกครอง คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ที่อยู่ในพื้นที่ต้องบูรณาการร่วมกัน โดยมีตำรวจคอยเป็นพี่เลี้ยงคอยดูคอยสนับสนุนลงไปช่วยเหลือ เพียงแต่ไม่ได้เป็นแกนนำเพราะด้วยกำลังคนของเราจำกัด โดยที่เราทำสเกลว 1 ใน 70 จำนวน 236 หมู่บ้าน จาก 16,500 กว่าหมู่บ้าน เราต้องสร้างระบบขึ้นมาจัดในชุมชนให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยเราเป็นผู้ดูแลในภาพรวมทั้งหมด ผู้นำชุมชน กับตำรวจทุกหมู่บ้านจะต้องเป็นเครือข่ายกัน สร้างการทำงานลักษณะออนไลน์ สร้างกลุ่มขึ้นมาคอยขับเคลื่อน ดังนั้น หลังจากโครงการดำเนินการมาครบ 2 เดือน และเข้าสู่ห้วงสุดท้ายในเดือน ก.ค.นี้ จึงจัดให้มีการนิเทศทบทวนงาน ให้แก่ หัวหน้าสถานีตำรวจ ,ชุดปฏิบัติการชุมชนยั่งยืน, ทั้ง 8 จังหวัด 236 สภ. พร้อมทั้งจัดทำ”คู่มือการตรวจประเมินผลโครงการฯ”เพื่อใช้ในการถอดบทเรียนและเน้นย้ำความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติงานให้สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรม หัวใจหลักของโครงการ นอกจากการค้นหา การรักษา การคืนสู่สังคมแล้ว ยังมีภารกิจสำคัญอีกคือ”การส่งต่อความยั่งยืน” ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการป้องกันภัยยาเสพติด มีมาตรการรักษาสภาพหมู่บ้านชุมชน มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีการประชุมภาคีเครือข่ายในการดูแลชุมชนต่อเนื่อง มีการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดกับภาครัฐ เพื่อป้องกันการเกิดผู้เสี่ยงรายใหม่ “เพื่อไม่ให้มีผู้เสพ ไม่ให้เกิดการขาย”ในพื้นที่ตลอดไป