สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม พบพื้นที่กว่าล้านไร่จมน้ำ เพื่อที่เกษตรกรรมหนักสุด 12-18 ต.ค. เฝ้าระวัง 9 อ่างเก็บน้ำใหญ่ล้น
GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่ข้อมูลจากภาพดาวเทียม Cosmo-SkyMed-4 สรุปภาพรวมพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงวันที่ 3 – 9 ต.ค. 2566 พบว่า ในภาพใหญ่มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมทั่วประเทศทั้งหมด 874,892 ไร่ กระทบประชาชนรวม 103,593 หลังคาเรือน คาดว่ามีประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 536,860 ราย
ขณะที่ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลกระทบด้านการเกษตรว่าถูกน้ำท่วมเสียหายถึง 1,084,172 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นนาข้าวถึงกว่า 8 แสนไร่ มีเกษตรกรเดือดร้อนราว 150,629 ราย
พื้นที่ได้รับผลกระทบ 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ตาก น่าน แพร่ พะเยา เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิมุกดาหาร มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด สมุทรสาคร และจังหวัดสตูล
นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ และทำบ่อปลา บ่อกุ้ง ได้รับผลกระทบด้วย อยู่ระหว่างการสำรวจ
ขณะที่ 5 จังหวัดที่ประสบภัยน้ำท่วมมากที่สุดได้แก่
จังหวัดสุโขทัย 134,116.34 ไร่
จังหวัดร้อยเอ็ด 88,862.82 ไร่
จังหวัดอุดรธานี 79,398.73 ไร่
จังหวัดพิษณุโลก 73,187.78 ไร่
จังหวัดพิจิตร 64,497.87 ไร่
นอกจากนี้ยังพบพื้นที่น้ำท่วมในอีกหลายจังในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน เช่น
พื้นที่ลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล ได้แก่ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น สารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
พื้นที่ลุ่มน้ำสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์
พื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก
พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี
ขณะที่ข้อมูลจากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ประจำวันที่ 11 ต.ค. 2566 พบว่า มีน้ำล้นเขือนขนาดใหญ่แล้ว 3 แห่งคือ
เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ กักเก็บ 108%
เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เชียงใหม่ กักเก็บ 105%
เขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง กักเก็บ 104%
ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติคาดการณ์จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอีกในช่วงวันที่ 9-16 ตุลาคม จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ในช่วงวันที่ 12-18 ตุลาคม ดังนี้
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
- อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
- อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และแม่มอก จังหวัดลำปาง
- อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
- อ่างเก็บน้ำน้ำพุง และหนองหาร จังหวัดสกลนคร
- อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
- อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
- อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
ส่วนเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากเกินกว่าร้อยละ 80 มีทั้งหมด 12 แห่ง ประกอบด้วย เขื่อนขุนด่านปราการชล นครนายก เขื่อนห้วยหลวง อุดรธานี เขื่อนอุบลรัตน์ ขอนแก่น เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิวคอหมา ลำปาง เขื่อนประแสร์ ระยอง เขื่อนสิรินธร อุบลราชธานี เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง สกลนคร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน พิษณุโลก เขื่อนนฤบดินทรจินดา ปราจีนบุรี และเขื่อนวชิราลงกรณ กาญจนบุรี
อ้างอิง https://disaster.gistda.or.th/flood/main#7.31/15.127/101.61
https://www.thaiwater.net/water
https://www.thaiwater.net/water/dam/large