เผยแพร่:
ปรับปรุง:
“ผ่าทางตัน ปลูกผักปลอดสารได้ตลอดปี
สู้ด้วยกันเพื่่อชีวิตที่่ดีของคนในชุมชน”
ชุมชนบ้านนาอุดม เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก อาชีพหลักก็คือทำนา โดยคนในชุมชนได้รวมกลุ่มกันปลูกผักเพื่่อเป็นอาชีพเสริมมานานกว่า 10 ปี โดยเป็นการปลูกผักแบบแปลงเปิดตามธรรมชาติ แต่ปัญหาใหญ่ในการปลูกผักของชุมชนที่นี่ก็คือ ปลูกผักได้เฉพาะหน้าหนาวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ไปถึงเดือนเมษายน สาเหตุใหญ่ก็คือเรื่อง “ฝน” เพราะว่าพืชผักเมื่อโดนฝนแล้วจะปลูกไม่ขึ้น มีโรค มีแมลง ผักไม่สวย จึงไม่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้้งปี ทำให้ชุมชนมีรายได้ไม่ต่อ เนื่อง
จำปี เดชรัตน์ (ผู้ใหญ่แส) ประธานกลุ่มของวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษสานสายใยรัก ได้คิดหาวิธีที่จะทำให้กลุ่มสามารถปลูกผักในฤดูฝน เพื่่อให้กลุ่มมีรายได้ตลอดทั้งปี จึงเข้าไปปรึกษาปัญหานี้กับ ธ.ก.ส. สาขาห้วยผึ้ง ทาง ธ.ก.ส. ได้เล็งเห็นประโยชน์และความตั้งใจจริงของชุมชนกลุ่มนี้ จึงจัดพาไปดูงานที่ภูตะวันฟาร์ม จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งที่นั่นปลูกผักในโรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง ซึ่งงสามารถปลูกผักได้ตลอดปีทุกฤดูกาล ผู้ใหญ่แสบอกว่า ทางชุมชนเห็นแล้วรู้สึกตื่นเต้นมาก “กลุ่มเราไปดูงาน เห็นเขาขายผักได้ตลอดทั้งปี ผักหน้าฝนก็งามสวย ทางสมาชิกไปดูถูกใจมาก เลยต้องการอยากจะให้เกิดแบบนี้ในชุมชนของเรา”
“หลังจากที่เราไปดูงานมาแล้วก็มาจัดประชุมสมาชิกกลุ่ม มติที่ประชุมก็เป็นเอกฉันท์ให้เราจัดทำโครงการ เราก็มาร่วมกันจัดทำโครงการ ร่วมจัดทำแผน เพื่อเสนอไปยัง ธ.ก.ส. และเราก็ได้รับอนุมัติโครงการให้กับเราในโครงการที่ชื่อว่า ธุรกิจชุมชนสร้างไทย” ผู้ใหญ่แส กล่าว
อาทิตย์ ซินโซ พนักงานพัฒนาลูกค้า สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์ “ทางลูกค้าเข้ามาปรึกษา ธ.ก.ส. ว่าต้องการจะไปดูงานโรงเรือน ธ.ก.ส. เราก็มีเครือข่ายอยู่แล้วในหลายๆจังหวัด ก็พาเกษตรกรกลุ่มนี้ไปดูงานที่จ.อำนาจเจริญ นั่นคือจุดเริ่มต้น หลังจากที่เกษตรกรกลุ่มนี้ไปดูงานกลับมาก็เกิดการพูดคุยกันว่า ถ้าเขาจะทำเหมือนกลุ่มที่ไปดูงานมาเนี่ย ต้องเริ่มต้นกันอย่างไร ทางเราเห็นว่าชุมชนนี้มีประสบการณ์ปลูกผักมาเป็นระยะเวลา 10 กว่าปีแล้ว ซึ่งมีความเชี่ยวชาญแล้ว เราก็ได้สนับสนุนให้เขาเขียนโครงการมาเสนอ เป็นสินเชื่อในโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย”
วิลาส จันทร์มาลี หัวหน้าหน่วยอำเภอ ธ.ก.ส. สาขาห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ “โครงการนี้ดอกเบี้ยมันถูกมากนะครับ ไม่มีแบงค์ไหนในประเทศไทยที่จะปล่อยสินเชื่อประมาณนี้เพื่อจะช่วยเหลือเกษตรกร มันจะทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้ตั้งต้นได้ดีขึ้นครับ ทีนี้พอเขาทำแผนธุรกิจมา เราก็ดู โดยเอาข้อมูลดิบจากเขา คือเราจะเป็นตัวช่วยด้านเทคนิคว่า ถ้าข้อมูลดิบประมาณนี้ แต่ปลูกผักประมาณนี้ มันจะได้เท่าไหร่ จากเดิมที่เคยปลูกได้ 10 กิโลกรัม เข้ามาปลูกในโรงเรือนนี้ได้ 100 กิโลกรัม เราจะส่งขายที่ไหน เราก็แนะนำ จุดสำคัญมันอยู่ที่การตลาดนะครับ ถ้ามีตลาดมาช่วย การผลิตจะอยู่ได้ ถ้ามีเฉพาะผลิต ไม่มีการตลาด ก็ไปไม่รอด”
หลังจาก ธ.ก.ส. อนุมัติโครงการให้แล้ว ผู้ใหญ่แสบอกว่าการสร้างโรงเรือนใช้เวลาประมาณ 3 – 4 เดือน โดยวิธีการชาวบ้านร่วมแรงกันทำเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จนในที่สุดก็สำเร็จ 40 โรงเรือน “ในระหว่างที่ทำโรงเรือนนี่ ธ.ก.ส. ก็ลงมาดูทุกขั้นตอน มาให้กำลังใจ พร้อมกับมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีด้วยนะครับ”
หลังจากที่ทำโครงการปลูกผักในโรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง ทำให้คนในชุมชนมีรายได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นหน้าฝนก็ปลูกผักได้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ผู้มหญ่แสบอกว่าบางครอบครัวถึงขั้นที่ลูกหลานกลับมาอยู่บ้านกับพ่อ แม่ มาช่วยกันปลูกผัก เพราะรายได้ดี
“ที่เราประสบผลสำเร็จได้ เป็นเพราะชุมชนเรามีความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยคิดช่วยทำ และเรายังมี ธ.ก.ส. เข้ามาร่วมช่วยคิดกับเราเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ถ้าไม่เกิดความสามัคคี โครงการนี้ก็คงจะไม่สำเร็จครับ”