“เพื่อโลกสีเขียว” เพื่อเราทุกคน
การดูแลและจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมคือการเดินทางร่วมกันระยะยาว ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เป็นเพียงภารกิจของผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง ทว่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคนซึ่งอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน จากปี 2542 ที่ กลุ่ม ปตท. ได้จัดตั้งโครงการ “ลูกโลกสีเขียว” ขึ้น โดยต่อยอดจากภารกิจการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ทั่วประเทศ ซึ่งพบการเปลี่ยนแปลงของพลังจาก “คนตัวเล็ก” ก็ได้นำไปสู่การสานต่อเป็น “สถาบันลูกโลกสีเขียว” ขึ้น ในปี 2553 โดยเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน พร้อมผสานความรู้จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็เฟ้นหาบุคคล ชุมชน เยาวชน ที่มีผลงานด้านการอนุรักษ์ดูแลรักษาป่าและสิ่งแวดล้อม เพื่อยกย่อง เชิดชู พร้อมกับส่งต่อแรงบันดาลใจไปยังบุคคลอื่นในสังคม สร้างแรงกระเพื่อมสู่การลงมือทำ
คุณอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะกรรมการสถาบันลูกโลกสีเขียว กล่าวถึงบทบาทของสถาบันลูกโลกสีเขียวในวันนี้ ว่ามีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้คนเริ่มตระหนักมากขึ้นว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวิกฤติโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก และนานาชาติล้วนให้ความสำคัญต่อแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไปพร้อมกับที่ผู้คนทั่วโลกก็เข้าใจมากขึ้นแล้วด้วยว่าป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์นั้นมีส่วนสำคัญอย่างไร ในการช่วยลดหรือบรรเทาปัญหาโลกร้อนให้ยั่งยืนได้ การดำเนินงานของสถาบันลูกโลกสีเขียวจึงมีส่วนอย่างมากในการร่วมผลักดันประเทศไทยและโลกสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
สานต่อพลังและแรงบันดาลใจ “รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20”
สำหรับ รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 20 มีผลงานที่ได้รับรางวัล 42 ผลงานจากทั่วประเทศใน 7 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทชุมชน 8 ผลงาน ประเภทกลุ่มเยาวชน 4 ผลงาน ประเภท “สิปปนนท์ เกตุทัต รางวัลแห่งความยั่งยืน” 7 ผลงาน ประเภทบุคคล 8 ผลงาน ประเภทงานเขียน 4 ผลงาน ประเภทความเรียงเยาวชน 9 ผลงาน และประเภทสื่อมวลชน 2 ผลงาน
1) ประเภทชุมชน จำนวน 8 ผลงาน ประกอบด้วย
1. ชุมชนบ้านภูเขาแก้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
2. ชุมชนบ้านหัวทุ่ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
3. ชุมชนบ้านท่าต้นธง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
4. ชุมชนโคกห้วยวังแสงและโคกหนองกุง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
5. ชุมชนตำบลกุดเสลา (ป่าชุมชนโคกทำเล) อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
6. ชุมชนบ้านห้วยยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
7. ชุมชนตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
8. ชุมชนบ้านหลางตาง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
2) ประเภทบุคคล จำนวน 8 ผลงาน ประกอบด้วย
⦁ นายดวงแก้ว สมพงษ์ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
⦁ นายเดชา จือเหลียง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
⦁ นายอุดม ทาส่วย อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
⦁ หลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
⦁ นางสนิท ทิพย์นางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
⦁ นายอุทัย บางเหลือ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
⦁ นายสุวัฒน์ ดาวเรือง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
⦁ นายเลื่อน มีแสง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
3) ประเภทกลุ่มเยาวชน จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย
⦁ กลุ่มเยาวชนรักษาความสะอาดสู่ชุมชนไร้ถังขยะโรงเรียนอนุบาลทับสะแก อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
⦁ โรงเรียนชุมชนบ้านหายโศก (กลุ่มเยาวชนต้นกล้าภูมิรักษ์) อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
⦁ กลุ่มเยาวชนยิ้มแฉ่งให้ด้วยใจ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
⦁ โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
4) ประเภท “สิปปนนท์ เกตุทัต” รางวัลแห่งความยั่งยืน จำนวน 7 ผลงาน ประกอบด้วย
⦁ ชุมชนบ้านขอใต้ – ขอเหนือ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
⦁ ชุมชนบ้านเหล่าเหนือ อำเภอสอง จังหวัดแพร่
⦁ ชุมชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
⦁ กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชน ริมฝั่งลำน้ำชี อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
⦁ ชุมชนตำบลสงเปือย (ป่าชุมชนดงต่อ) อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
⦁ ชุมชนตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
⦁ ชุมชนบ้านถ้ำตลอด อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
5) ประเภทงานเขียน จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย
รางวัลดีเด่น –
รางวัลชมเชย จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่
⦁ ทุ่งหยีเพ็ง บ้านอุ่น ป่าเย็น โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรุ่งอรุณ
⦁ คืนเหง้าเหล่ากอ โดย วัฒนา ธรรมกูร
⦁ ป่า ดอย บ้านของเรา โดย นางวิรตี ทะพิงค์แก
⦁ มหัศจรรย์แห่งคราม โดย นายก่อคเณศ รุ้งสันเทียะ
6) ประเภทความเรียงเยาวชน จำนวน 9 ผลงาน ประกอบด้วย
เยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 4 ผลงาน
รางวัลดีเด่น จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
⦁ ความทรงจำที่หาซื้อไม่ได้ โดย น.ส.รัตนาภรณ์ พันธ์พิริยะ
⦁ ตุ้มกุ้ง ฮักบ้านเกิด โดย ด.ช.เทวา สามารถ
รางวัลชมเชย จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
⦁ เสน่ห์ของธรรมชาติ โดย ด.ญ.สุพรรษา แสงใหญ่
⦁ จากแสนแสบสู่ป่าเขียว โดย ด.ช.อิทธิพัทธ์ กิตติศรีไสว
เยาวชนอายุระหว่าง 16-25 ปี จำนวน 5 ผลงาน
รางวัลดีเด่น จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
⦁ แม่น้ำบางปะกง มหานทีแห่งชีวิต โดย นายกิตติ อัมพรมหา
⦁ บึงบัวบานและความสำราญของเด็กๆ โดย นายภัทรพล เชียงเจริญ
รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่
⦁ สวนไผ่ของป้า โดย น.ส.สุดารัตน์ แสงสว่าง
⦁ เพียงในความทรงจำ โดย นายวิชัย เชอหมื่นกู่
⦁ บ้านเล็กบนทางช้างผ่าน โดย น.ส.วารี คมขำ
7) ประเภทสื่อมวลชน จำนวน 2 ผลงาน ประกอบด้วย
⦁ Green Innovation & SD
⦁ Facebook : ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป
โดยรางวัลลูกโลกสีเขียวนับเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน “คนตัวเล็ก” ในอีกรูปแบบหนึ่ง รวมถึงสะท้อนถึงการเห็นคุณค่า ทั้งในสิ่งที่ลงมือทำและแนวคิดที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างผู้ได้รับรางวัลประเภทบุคคลอย่าง นายดวงแก้ว สมพงษ์ สิงห์นักบิดที่กลายมาเป็นนักสร้างฝายตัวยง การเดินทางได้นำไปสู่ความคิดที่จะอนุรักษ์ป่าในท้องถิ่นให้อุดมสมบูรณ์เหมือนบ้านอื่น หรือกรณีของนายเดชา จือเหลียง คนที่ทำงานอนุรักษ์ป่าชายเลนมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง นายเลื่อน กับการอนุรักษ์พืชพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างพลับพลึงธาร หรือแม้แต่หลวงตาปพนพัชร์ จิรธัมโม ที่ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านให้พ้นจากความทุกข์ของโรคมะเร็ง และเป็นที่พึ่งทางกายและจิตผ่านธรรมชาติบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวในสาขาอื่นๆ รวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปลูกจิตสำนึก และส่งต่อแรงบันดาลใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าอย่างมากด้วย
รางวัลลูกโลกสีเขียว จึงเป็นมากกว่าการประกาศเกียรติคุณ แต่เป็นการส่งต่อพลังที่มีความหมายไปยังอีกหลายๆ คนบนโลกใบนี้ ว่าการลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อสิ่งแวดล้อม แม้จะเปรียบเสมือนการเดินทางระยะยาว แต่ก็เป็นการเดินทางที่คุ้มค่าเสมอเช่นกัน