“กรมอุตุนิยมวิทยา” ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน 23 จังหวัด ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 4 มีนาคม 2564) ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 01 มีนาคม 2564 ในช่วงวันที่ 2 – 4 มีนาคม 2564 ประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบางพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฟ้าผ่า กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกร ควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหาย ที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
โดยจะมีผลกระทบดังนี้
ในช่วงวันที่ 2 มีนาคม 2564
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ในช่วงวันที่ 3 มีนาคม 2564
ภาคเหนือ : จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
วันที่ 4 มีนาคม 2564
ภาคเหนือ : จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคกลาง : จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุม ถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้แล้ว ในขณะที่มีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ประชาชนสามารถติดตามข้อมูล ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 11.00 น.
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- พยากรณ์อากาศวันนี้ 23 จังหวัดระวังฝนถล่ม ลมกระโชกแรง
- ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 3 ‘ผู้ว่าฯ กทม.’ สั่งเตรียมพร้อม!!
- ประกาศเตือน ‘พายุฤดูร้อน’ 12 จังหวัดระวังฝนถล่ม-ลมกระโชกแรง