วัดพระเหลาเทพนิมิตร ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2134 ห่างจากตัวอำเภอพนาประมาณ 2 กิโลเมตร เดิมชื่อวัดศรีโพธิ์ชยารามคามวดี พระอุโบสถของวัดมีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีพระประธานคือ “พระเหลาเทพนิมิตร” เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ “พระเหลาเทพนิมิต” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.85 เมตร สูง 2.70 เมตร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอำนาจเจริญ ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดพระเหลาเทพนิมิต ต.พนา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ ตามประวัติ บรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปลงเมืองบ้านพนา ได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณดงสูง ริมกุดบึงใหญ่ หรือกุดพระเหลาในปัจจุบัน “พระครูธิ” พระที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ ได้ชักชวนให้ร่วมกันสร้างวัดบริเวณริมกุดบึงใหญ่ และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดศรีโพธิชยารามคามวดี” โดยมีพระครูธิ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก หลังสร้างวัดเสร็จในปี กล่าวกันว่า ‘พระเหลาเทพนิมิต’ เป็นพระพุทธรูป ที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ตามแบบฉบับศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทร์ ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะช่างล้านนาและมีฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มาก เช่น เค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลาและพระบาท คล้ายคลึงกับองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 23-25 จากลักษณะขององค์พระพุทธรูปที่งดงาม เวลาเข้าไปกราบนมัสการจะเหมือนท่านยิ้มต้อนรับ คนทั่วไปจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า “พระเหลา” ที่มีความหมายว่า “งดงามคล้ายเหลาด้วยมือ” ต่อมา วัดศรีโพธิชยารามคามวดี ที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระเหลา ได้เปลี่ยนชื่อเรียกตามความนิยมในตัวองค์พระเป็นวัดพระเหลา หมู่บ้านที่ตั้งได้เปลี่ยนชื่อตามเป็นบ้านพระเหลาด้วยจนถึง พ.ศ. 2441 ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี และภาคอีสาน ได้เสริมนามต่อท้ายให้กับองค์พระเป็น “พระเหลาเทพนิมิต” ซึ่งมีความหมายว่า “พระพุทธรูปที่งามคล้ายเหล่าดุจเทวดานิมิตไว้” สำหรับพระเหลาเทพนิมิต นอกจากจะมีความงดงามตามพุทธศิลปะแล้ว มีคำเล่าลือกันว่า ทุกคืนวันพระ 7 ค่ำ, 8 ค่ำ 14 ค่ำ, 15 ค่ำ องค์พระพุทธรูปพระเหลาเทพนิมิต จะแสดงพุทธานุภาพให้เกิด ลำแสงสีเขียวแกมขาวขจีลอยออกจากพระอุโบสถในเวลาเงียบสงัดทั้งนี้ การเข้ากราบนมัสการพระเหลาเทพนิมิต ผู้ต้องการบนบานขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะคนที่ไม่มีบุตร มีการกล่าวกันว่า เมื่อมาบนบานขอจากพระเหลาเทพนิมิตแล้ว จะประสบความ สำเร็จสมดังที่ตั้งใจ ส่วนสิ่งของที่ใช้บนบานสานกล่าวก็คือ ดอกไม้ธูปเทียน และปราสาทผึ้ง ส่วนวัดพระเหลาเทพนิมิต ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนาเพียง 2 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมสะดวก